สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุหลายท่าน มีสุขภาพจิตที่ไม่สดชื่นแจ่มใสเท่าที่ควร ที่เป็นอย่างนั้นเพราะมีหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ที่ส่งผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกของผู้สูงอายุ

วิธีสังเกตผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต

1. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือน้อยลงกว่าปกติ

2. นอนหลับมากกว่าปกติ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ตกใจตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้

3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย

4. พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เคยเป็นคนร่าเริงแจ่มใส กลับซึมเศร้า / ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์ ก็หันมาดื่ม / เคยพูดน้อย กลายเป็นคนพูดมากขึ้น

5. มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย ซึ่งหาสาเหตุไม่พบ

แนวทางการดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

1. ให้ความรักและความอบอุ่น

2. หมั่นพูดคุย ใกล้ชิด ให้ความรัก ความอบอุ่น สร้างเสียงหัวเราะ รวมถึงหาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น รับประทานอาหาร ทำบุญ ท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าและมีความสำคัญ

3. ให้เกียรติระมัดระวังคำพูดและท่าทางที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ ไม่แสดงความรำคาญ ไม่ต่อว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือจับผิดเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แม้ผู้สูงอายุจะดื้อหรือเอาแต่ใจ

4. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ ผ่อนคลาย และปล่อยวาง รวมทั้งสามารถปรับตัวและยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง รวมถึงเรื่องความตาย ผ่านการควบคุมลมหายใจ ฝึกคิดอย่างยืดหยุ่นและคิดแง่บวก

5. ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเอง ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกภาคภูมิใจและมีความเชื่อมั่นในตนเอง โดยอาจปล่อยผู้สูงอายุพยายามช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่าย ๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน หรืองานบ้านที่ไม่เกินกำลังและไม่เป็นอันตราย

6. ส่งเสริมความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ การฝึก การวางแผน และการแก้ไขปัญหาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองในด้านต่าง ๆ เช่น ฝึกการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ลองทำกิจกรรมด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หรือทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ

7. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือกลุ่มวัยอื่น ๆ เพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รู้สึกผ่อนคลาย ลดปัญหาการเก็บตัวหรือปลีกวิเวกจากสังคม

8. ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมความรู้สึกสนุกสนาน ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า อาทิ การเล่นกีฬา ดนตรี ศิลปะ หรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น เปตอง รำวง เต้นแอโรบิค เป็นต้น ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายและลดความเครียดได้เป็นอย่างดี

9. เล่นเกมที่ช่วยฝึกฝนด้านความจำหรือฝึกสมองได้เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา การจัดลำดับความคิด เช่น หมากรุก อักษรไขว้ ต่อคำ ต่อเพลง คิดเลข หรือการจดจำข้อมูลต่าง ๆ เช่น วัน เวลา สถานที่ บุคคล หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

10. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหันมาดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลังวังชา สามารถตอบสนองความต้องการทางกายภาพได้อย่างเหมาะสมผ่านการฝึกกายบริหาร โยคะ รำมวยจีน หรือการออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ที่เหมาะสมวันละ 15-30 นาที

#บริการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุส่งตรงถึงบ้าน #ดูแลผู้สูงอายุในกรุงเทพ #AyasanCares#CaregiverServices #ThailandCaregivers #PersonalizedCare
Source Links: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/food-for-the-elderly